โครงการ

นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง

นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง

สืบเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราส่งผลให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทยซึ่งมีรายได้จากการส่งออกยางพารามีมูลค่าสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ บริษัท ไทรเบคก้า เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด จึงได้วางแผนพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยฉี่หลู่เมืองยาง รองรับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมผู้ประกอบการด้านธุรกิจยางพาราให้มีการรวมกลุ่มกันในการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม และเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยโครงการจะตั้งอยู่ในเขตตำบลสำนักทอง อำเภอเมืองจังหวัดระยอง อยู่ห่างจากถนนสุขขุมวิท บริเวณกิโลเมตรที่ 244 ไปตามถนนต้นกระบกเกษตรศิริ ระยะทางประมาณ 7.8 กิโลเมตร มีเนื้อที่โครงการรวมประมาณ 2.442 ไร่

เกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรม

นิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (จังหวัดระยอง) มีพื้นที่ 2,442 ไร่ นิคมอุตสาหกรรมนี้อยู่ภายใต้การกำกับของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ. ) ในการปฏิบัติงานประจำวันและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของ กนอ. อย่างไรก็ตามเพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ทางนิคมฯ ได้จัดทำโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม ดังนี้:

  • อ่างเก็บน้ำมีความจุ 3,680,000 ลบ.ม.
  • ระบบบำบัดน้ำเสียสองขั้นตอนชีววิธี + บึงประดิษฐ์
  • มีแนวต้นไม้ป้องกันกว้างสิบเมตรโดยรอบนิคม ฯลฯ

เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หมายถึง พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่มีการจัดวางผังอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการที่มุ่งเน้นให้มีการปล่อยของเสียน้อยที่สุด ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากร และพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ด้วยการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานหรือการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้คุ้มค่า และลดการปลดปล่อยของเสียให้เหลือน้อยที่สุด พร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
  • โดยได้รับการยอมรับจากชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยรอบและโดยรวม
  • ด้วยหลักการความร่วมมือพึ่งพากันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม หน่วยงานท้องถิ่น และชุมชน เพื่อมุ่งสู่ประโยชน์ร่วมกัน

เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศแล้วได้อะไร

  • สิ่งแวดล้อม
  • ชุมชนและสังคมรอบข้าง
  • โรงงาน / บริษัท

สิ่งแวดล้อม

  • ลดความต้องการ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ/ เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและพลังงาน
  • ลดการก่อเกิดของเสีย และมลภาวะต่าง ๆ
  • ลดปริมาณกากของเสียที่นำไปฝังกลบ
  • ประหยัด/อนุรักษ์พลังงาน
  • ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ลดการใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษลงตามลำดับ

ชุมชนและสังคมรอบข้าง

  • ขยายโอกาสทางธุรกิจในท้องถิ่น
  • โอกาสมีงานทำที่มากขึ้นและดีขึ้น, สร้างโอกาสการทำงานจากธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
  • โอกาสทางอาชีพและการศึกษา
  • ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีต่อชุมชน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • มีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ
  • ได้บริษัท, โรงงานที่มีความรับผิดชอบสูง และมีจิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวมเข้ามาอยู่ในพื้นที่
  • มีความมั่นใจว่าโรงงานที่เข้ามานี้จะทำให้ดิน น้ำ อากาศ สะอาดขึ้น และลดปริมาณของเสียไปพร้อม ๆ กัน
  • เป็นความภาคภูมิใจของชุมชน

โรงงาน / บริษัท

  • นโยบายการ "นำกลับมาใช้ใหม่" ช่วยลดรายจ่ายในการทำธุรกิจ และเพิ่มผลกำไร โดยการลดต้นทุนการผลิต และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบและพลังงาน
  • โอกาสในการขยายตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์พลอยได้, ของเสียต่าง ๆ
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพของการควบคุมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • พนักงานมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น มีความสุขในการทำงานมากขึ้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพและผลผลิตในการทำงาน
  • ร่วมมือกับโรงงานอื่น ๆ ในการจัดการของเสีย การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ข้อมูลสิ่งแวดล้อม การฝึกอบรม  ระบบการจัดซื้อ ฯลฯ
  • ลดความไม่น่าเชื่อถือทางด้านสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามกฎหมายได้ดีขึ้น
  • ส่งเสริมภาพพจน์ของบริษัท
  • มีส่วนร่วมกับบริษัทและองค์กรอื่น ๆ ในการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน

ประโยชน์จากจาก กนอ.

เพิ่มศักยภาพและโอกาสการลงทุน
ในเขตประกอบการเสรี และเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
กนอ. ได้ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติ กนอ. พ.ศ. 2522 และได้ตราเป็น พ.ร.บ. กนอ. (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 เพื่อ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ตามกฏหมายเดิมผู้ประกอบการและนักลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์และการอำนวย ความสะดวกเพิ่มเติม รวมถึงให้การบริการเบ็ดเตล็ดครบวงจร ที่เป็นเลิศ ภายใต้ พ.ร.บ. กนอ. (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2550 จำแนก นิคมอุตสาหกรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • เขตอุตสาหกรรมทั่วไป
  • เขตประกอบการเสรี

สิทธิประโยชน์และการบริการที่เป็นเลิศ

สำหรับผู้ประกอบการ

เมื่อท่านตัดสินใจลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ท่านจะได้รับสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ. กนอ. ฉบับเดิม และฉบับปรับปรุงใหม่ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของท่าน ดังนี้

การลงทุนในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
ผู้ลงทุนในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปจะได้รับโอกาสและทางเลือกตลอดจนสิทธิประโยชน์ ดังนี้

  1. การประกอบกิจการบริการต่าง ๆ จะสามารถดำเนินการในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปได้ ภายใต้ พ.ร.บ. กนอ. ฉบับล่าสุดได้ขยายโอกาสให้นักลงทุนสามารถประกอบกิจการค้า และการบริการในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปได้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป หรือให้มีการบริการที่ครบวงจร และ จำเป็นต่อการประกอบอุตสาหกรรม อาทิ การบริการด้านขนส่ง คลังสินค้า ศูนย์ฝึกอบรม สถานพยาบาล ฯลฯ โดยผู้ประกอบการจะสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตอุตสาหกรราทั่วไปได้
  2. สิทธิประโยชน์ทั่วไป (General Privileges) สำหรับผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
    • สิทธิการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม
    • สิทธิในการนำช่างฝีมือต่างชาติเข้ามาทำงาน และนำคู่สมรสและบุคคลในอุปการะเข้ามาและอยู่ในประเทศ
    • สิทธิในการส่งเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ
    • Permission to remit foreign currency out of the country

การลงทุนในเขตประกอบการเสรี (I-EA-T Free Zone)
ภายใต้ พ.ร.บ. กนอ. ฉบับล่าสุด นักลงทุนในเขตประกอบการเสรีจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น ดังนี้

  1. สิทธิประโยชน์
    • ผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรี จะได้รับสิทธิประโยชน์ โดยไม่กำหนดเงื่อนไขการส่งออกสินค้าไปนอกราชอาณาจักร และได้รับความสะดวกมากขึ้นในการนำของหรือวัตถุดิบเข้าไปในเขตประกอบการเสรี
    • ของที่นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรี จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรเพิ่มขึ้น
      • ลดภาระภาษี สำหรับการนำผลิตภัณฑ์ออกจากเขตประกอบการเสรีเพื่อใช้หรือจำหน่ายในประเทศ หากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนผสมหรือส่วนประกอบของวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ โดยที่วัตถุดิบที่นำเข้าไปนั้นไม่มีสิทธิได้คืนหรือยกเว้นอากร ก็จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องนำราคาวัตถุดิบนั้น ๆ มาคิดค่าภาษีอากร
      • ผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรีได้รับสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ. กนอ. เช่นเดิมดังนี้
        • สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการนำเข้า ส่งออก อาทิ ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า อากรขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต สำหรับเครื่องจักรอุปกรณ์ ส่วนประกอบ วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในเขตประกอบการเสรี
        • สิทธิประโยชน์ทั่วไป ประกอบด้วยสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดิน การนำช่างเทคนิค ผู้ชำนาญการเข้ามาทำงาน การนำครอบครัวและผู้อยู่ในอุปการะเข้ามาอยู่ในประเทศ และการโอนเงินตราต่างประเทศกลับประเทศได้
  2. ความสะดวกในการประกอบการ
    • อำนวยความสะดวกในการนำสินค้าและวัตถุดิบเข้ามาในประเทศและเข้าไปในเขตประกอบการเสรีเพื่อผลิตสินค้า หรือเพื่อการค้าหรือบริการ โดยไม่จำกัดว่าผู้ประกอบกิจการต้องเป็นผู้นำเข้าเท่านั้น
    • การนำของหรือวัตถุดิบเข้าไปในเขตประกอบการเสรีได้รับความสะดวกมากขึ้นโดยได้รับการยกเว้นการขอหรือมีใบอนุญาตนำเข้าและการควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐานตามกฎหมายอื่น ตลอดจนการประทับตราหรือเครื่องหมายใด ๆ สำหรับของที่นำเข้ามาใช้ในการผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใด ในเขตประกอบการเสรี โดยมีวัตุถุประสงค์เพื่อส่งออก

parcel

ประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

parcel